ปฎิทิน
June 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
      
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
      
สถิติ
เปิดเมื่อ16/08/2012
อัพเดท14/12/2014
ผู้เข้าชม331337
แสดงหน้า383216
บทความ
สถิติคำทำนายหวยเลขเด็ด เว็บท่องเที่ยว
บทความทั่วไป
เลขท้ายบัตรประชาชนบอกนิสัยได้
บันทึกช่วยจำของ“เหลียงจี้จาง” เขียนให้ลูก
หายใจด้วยพลังชี่กง pranayama
พระปิยมหาราชของปวงชนชาวไทย
เรื่องเสียวสยองเฮี้ยนสุดสุด.ผีศาลายาใน ม.มหิดล
หลวงพ่อเงิน เทพเจ้าแห่งอำเภอโพทะเล เพชรน้ำเอกของจังหวัดพิจิตร
Radio Online
TV ONLINE
coffee&me
ที่ตั้ง ทำเล ร้านกาแฟ
‘ร้านกาแฟ’ เปิดอย่างไร? ถึง MIX and Match ธุรกิจในฝันที่ไม่มีวันตาย
เคล็ดลับเด็ดสร้างโชคลาภ
มหาเศรษฐีฮ่องกง ลี กา ชิง สอนวิธีทีซื้อบ้านและรถภายในเวลา 5 ปี
"คนรวย" มี 40 อย่างที่เหมือนกัน
แกว่งแขนลดโรคได้
บูชาพระสีวลีเถระ
กฎเด็ด " 30 วิธีเอาชนะโชคชะตา "
การที่จะทำให้ตนเองมีโชคลาภ
ค้นหาจุดโชคลาภในบ้าน
โชคดี มีคนสอนลุง ในเรื่องเด็ดของไอที
วิธีบันทึกรูปภาพแอพภาพการ์ตูนสุดฮิต 魔漫相机 (mo-man-xiang-ji) และวิธีแชร์ไปยัง Facebook สำหรับ Android
10 อันดับแอพพลิเคชั่นเด็ดแต่งรูปสุดฮิตจาปกจีน
Gifboom Applicationบูม…สมชื่อ
AR เทคโนโลยี..มันคืออะไรกันฟ่ะ
“ช่วงเวลาทอง” ของการโพสต์ข้อความของธุรกิจแต่ละประเภท
รหัสโค้ด-ชื่อเข้าดูรูปส่วนตัวดาราดังใน instagram
ท็อปแบรนด์ผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชี่ยลมีเดียแห่งอาเซียน
ขนาดภาพที่จะสวยเหมาะ ใน Facebook Timeline, Twitter,
รักแท้แพ้รักเป็น
10 จุดเด็ดสาว กระชับพื้นที่เสียว
"นวดกะปู๋" สวรรค์ต้องห้าม!
เซ็กส์...ผู้ชายแค่รักสนุก แต่ทำไมผู้หญิงถึงรู้สึกผูกพัน
จันดารา ปฐมบท จัดให้เต็ม
3 ท่าลีลาเลิฟสุดโปรดของผู้หญิง 3 สไตล์
คอลัมน์ Sexociety โดย Dr.DEN
เคล็ดลับดูไฝบนกายสาว
8 วิธีชะลอการหลั่ง
8 วิธีชะลอการหลั่ง
ตามข่าวนายกยิ่งลักษณ์.หาหวยเลขเด็ด
ภาพสุดงามพิธีอภิเษกสมรสพระราชธิดา สุลต่าน บรูไนฯ นายกเข้าร่วม
หวยไทยไม่มีวันตาย
ดร.สังศิตชี้ปราบหวยได้ใน48ชั่วโมงแต่ใครจะยอมทำ
จวกสื่อชี้ช่องมอมเมาหวย ให้เลขโจ๋งครึ่ม
รัฐยันหวยไม่ผิดกฎหมาย ไฟเขียว'ล็อกเล่ย์'เตรียมขายหวยออนไลน์
4 ปัจจัยเสริม ทำให้คนชอบเล่นหวย
วิจัยหวย 23ล้านคน-เงิน5.4แสนล้าน หวังรวยลัด
เรื่องดีๆมีทุกวัน
ขอทาน ถามพระพุทธองค์ ว่าเหตุผลอันใดถึงมีชะตาชีวิตเช่นนี้
มีเรื่องดีๆมาฝากเพื่อน
"ตำโขยง"ส้มตำการรันตีโดยแชมป์รางวัลพระราชทาน
คลิกดูปุ๊ป.สุขทันที
ทฤษฎีสัมพันธภาพ
จดหมายข่าว
คำค้น




หลวงพ่อเงิน เทพเจ้าแห่งอำเภอโพทะเล เพชรน้ำเอกของจังหวัดพิจิตร

อ่าน 2940 | ตอบ 0

ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน วัดวังตะโก และวัดท้ายน้ำ
เทพเจ้าแห่งอำเภอโพทะเล เพชรน้ำเอกของจังหวัดพิจิตร




  ชาติกำเนิด      หลวงพ่อเงิน เดิมท่านชื่อเงิน เมื่อสมัยก่อนยังไม่ได้ใช้นามสกุล ท่านเกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2351 ตรงกับศุกร์เดือน 10 ปีมะโรง บิดาของท่านชื่อ อู๋ เป็นชาวบ้านบางคลาน มารดาของท่านชื่อฟัก เป็นชาวบ้านแสนตอ จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งรัตนโกสินทร์
 หลวงพ่อเงิน ท่านมีพี่น้องร่วมสายโลหิตทั้งหมด 6 คน ดังนี้
คนที่ 1 ชื่อพรม ชาย  คนที่ 2 ชื่อทับ หญิง  คนที่ 3 ชื่อทอง(ขุนภุมรา) ชาย  คนที่ 4 ชื่อเงิน(หลวงพ่อเงิน)  คนที่ 5ชื่อหล่ำ ชาย  คนที่ 6 รอด หญิง
          เมื่อปี พ.ศ. 2356 หลวงพ่อเงิน อายุได้ 5 ขวบ นายช่วงซึ่งเป็นครูของท่าน ได้หาหลวงพ่อเงินไปอยู่กรุงเทพฯ จนกระทั่งหลวงพ่อเงินเติบโตเข้าศึกษาเล่าเรียนได้ จึงได้นำหลวงพ่อเงินไปฝากไว้ที่วัดตองปู (วัดชนะสงคราม) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือที่วัดชนะสงครามตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2363 หลวงพ่อเงิน อายุได้ 12 ปีจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดชนะสงคราม ฉายา พุทธโชติ แล้วท่านได้จำพรรษา เพื่อปฏิบัติธรรมวินัยเรียนทางวิปัสสนากรรมฐานอยู่ได้ 3 พรรษาขณะที่ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงครามท่านได้ไปถวายตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาศิลปวิทยาคมตลอดจนเรียนวิปัสสนาธุระ ในทางเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรีจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒจารย์(โต) พรหมรังสีวัดระฆังโฆสิตารามจนเป็นที่พอใจแล้ว ท่านจึงได้กลับไปจำพรรษาที่วัดคงราราม (วัดบางคลานใต้) บ้านบางคลาน ตำบลบางคลาน อำเภอบางคลาน จังหวัดพิจิตร บ้านเดิมของท่านอยู่ได้ 1 พรรษา
         ที่วัดคงคารามนี้มีหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ให้ เป็นเจ้าอาวาสอยู่ก่อนแล้ว ท่านเป็นพระที่เรืองวิชาแก่กล้าองค์หนึ่งเหมือนกันและท่านชอบเล่นแร่แปรธาตุด้วย แต่หลวงพ่อท่านอุปัชฌาย์ให้ท่านชอบเทศน์แหล่ เป็นทำนองการเทศน์แหล่หรือการซ้อมแหล่ ทำให้เกิดเสียงดังมาก หลวงพ่อเงินท่านไม่พอใจ เพราะท่านเป็นพระที่เคร่งครัดทางธรรมวินัยและทางวิปัสสนากรรมฐานชอบแต่ทางสงบ

 ประวัติที่วัดวังตะโก

          ท่านจึงได้ย้ายจากวัดคงคารามไปอยู่ยังหมู่บ้านวังตะโก ซึ่งลึกเข้าไปในทางลำน้ำแควพิจิตรเก่า โดยท่านได้หักกิ่งโพธิ์ไปด้วย 3 กิ่งและปักลงตรงบริเวณป่าตะโก แล้วท่านก็ได้อธิษฐานจิตว่า ถ้าข้าพเจ้าได้มาสร้างวัด ณ สถานที่แห่งนี้ ถ้ามีความเจริญรุ่งเรืองต่อไปในอนาคตข้างหน้า ขอให้กิ่งโพธิ์ทั้ง 3 กิ่ง จงเจริญงอกงามตามไปด้วย ก็ปรากฏว่าเป็นไปตามคำอธิษฐานของหลวงพ่อทุกประการ ได้สร้างกุฏิวิหารจนอุโบสถและเสนาสนะภายในวัดจนสมบูรณ์แบบครบถ้วนทุกประการ
          เพราะได้มีประชาชนให้ความเคารพนับถือท่านมาก มีคนมาหาท่านมาก มีคนมาหาท่านมิได้ขาด เพื่อถวายตัวเป็นศิษย์ และมาขอเครื่องรางขอขลัง และขอให้หลวงพ่อได้รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ด้วย หลวงพ่อให้ความเมตตาโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ เหมือนกันทุกระดับชั้น
          โดยเฉพาะพวกชาวเรือที่ขึ้นล่องไปมา ได้พากันมาจอดเรือที่หน้าวัดหลวงพ่อเป็นประจำจะเพื่อขอพรและขออาบน้ำมนต์ ผู้เขียนได้รับคำบอกเล่าจากท่านพระครูพิทักษ์ศีลคุณ(น้อย) เจ้าคณะอำเภอบางบุญนาค ซึ่งท่านเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเงินอีกรูปหนึ่ง และพ่อพริ้ง เป็นครูซึ่งเป็นพ่อของเพื่อนของผู้เขียนเอง ที่จอดเรืออยู่หน้าวัดวังตะโก น้ำมนต์ของท่านมีประชาชนเอามาอาบได้ไหลลงสู่แม่น้ำแควพิจิตรเก่ามิได้ขาดสาย (ผู้เขียนเกิดไม่ทันจึงต้องเขียนตามที่เขาเล่า)

 ประวัติการสร้างพระเครื่องและรูปเหมือนของหลวงพ่อเงิน (รูปหล่อ หลวงพ่อเงิน)

 

ครั้งที่ 1  รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา

ท่านพระครูพิทักษ์ศีลคุณได้เล่าให้ฟังว่า ท่านได้สร้างเป็นรูปหล่อลอยองค์ขึ้นเป็นรุ่นแรกครั้งที่ 1
เนื้อทองเหลืองรูปองค์พระจะขรุขระผิวไม่เรียบร้อย ตามภาษาชาวบ้านเรียกว่าพิมพ์ขี้ตา คณะกรรมการวัดได้ให้เช่าบูชาองค์ละ 1 บาท    
 

ครั้งที่ 2  รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยมหรือพิมพ์เบ้าทุบ

ครั้งที่ 2 สร้างเป็นรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อเงิน โดยให้ช่างแก้พิมพ์ให้สวยงามขึ้น จึงเรียกว่าพิมพ์นิยมหรือพิมพ์เบ้าทุบ
 
          เมื่อรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตาและรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม ได้จำหน่ายจ่ายแจกให้ผู้ที่เคารพนับถือเลื่อมใสต่อหลวงพ่อ ต่างก็ได้รับความนิยมชมชอบ สำหรับผู้ชายสำหรับผู้หญิงและเด็กๆ ไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้รูปหล่อทั้งสองพิมพ์ดังกล่าวมาแล้ว ทางคณะกรรมการวัดจึงได้จัดให้สร้างขึ้นเป็นครั้งที่ 3เป็นเหรียญหล่อไข่ปลาเรียกว่าจอบใหญ่กับเหรียญหล่อจอบเล็ก เพื่อให้ผู้หญิงและเด็กๆ ได้มีโอกาสเช่าบูชาให้ติดตัวไปได้ ปรากฏว่าเหรียญไข่ปลาและเหรียญจอบเล็กจำหน่ายดีมีความนิยมสูงมากกว่ารูปลอยองค์ เพราะเหรียญสองชนิดนี้มีห่วงอยู่ในตัวเมื่อเช่ารับจากหลวงพ่อมาแล้วก็คล้องคอได้เลย ปัจจุปัน เหรียญหล่อจอบเล็ก หลวงพ่อเงิน และ เหรียญหล่อจอบใหญ่  หลวงพ่อเงิน มีราคาเล่นหาสูงมาก



ครั้งที่ 3 เหรียญหล่อจอบเล็ก  และ เหรียญหล่อจอบใหญ่

 การสร้างพระรูปหล่อของหลวงพ่อเงิน

         จะเป็นพิมพ์ใดก็ตาม ช่างมิได้สร้างครั้งเดียวและปีเดียว เมื่อปีนี้สร้างมาแล้วหมดไปเมื่อถึงงานแระจำปีปิดทองไหว้พระในเดือน 11 ของทุกๆ ปี หลวงพ่อท่านได้จัดให้มีงานแข่งเรืออย่างสนุกสนาน ได้มีประชาชนทั่วทุกอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงได้พากันมาเที่ยวงานที่วัดวังตะโกเป็นจำนวนมาก ท่านก็ได้ให้ช่างหล่อรูปพิมพ์ต่างๆ ขึ้นมาตามลำดับเรียกร้องของประชาชนและผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อเงินการสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงินเป็นกรณีพิเศษ
          ยังมีข้าราชการ พ่อค้าประชาชนที่เคารพนับถือหลวงพ่อเงินมาขออนุญาตท่านหล่อรูปเหมือนโดยนำช่างไปทำการหล่อขึ้นที่วัดวังตะโก และหล่อไปจากกรุงเทพฯ ก็มีแล้วนำไปมอบให้หลวงพ่อเงินท่านได้แพเมตตาปลุกเสกให้ มีทั้งเนื้อ ทองคำ,เงิน ,สำริด,ทองเหลือง ,ทองแดงและตะกั่ว เป็นต้น แล้วแต่ฐานะของแต่และบุคคล ส่วนมากจะเป็นพวกชาวเรือเวลานำข้าว ขึ้น-ล่อง ไปขายที่กรุงเทพฯก็จะพากันมาจอดเรือที่หน้าวัดเป็นประจำ แล้วขออนุญาตจากหลวงพ่อนำเบ้าและพิมพ์พระไปให้ช่างที่กรุงเทพฯ ทำการหล่อแล้วนำกลับมาให้หลวงพ่อได้ปลุกเสกให้ จะสร้างมากน้อยเท่าไรไม่สามารถจะทราบจำนานได้การหล่อรูปจำลองของหลวงพ่อเงิน
         
เมื่อหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ประชาชนเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ จึงได้ให้ช่างมาทำการหล่อรูปจำลองของท่านไว้จำนวน 2 องค์ ด้วยกัน ตามหลักฐานที่ได้ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้

องค์ที่ 1 ประจำอยู่วัดวังตะโก บ้านบางคลานหรือวัดหิรัญญาราม   
องค์ที่ 2 ประจำอยู่ที่วัดท้ายน้ำ

 ประวัติที่วัดท้ายน้ำ

          เป็นอีกวัดหนึ่งที่หลวงพ่อเงินท่านได้ไปทำการบูรณะก่อสร้างกุฏิ ศาลา วิหาร อุโบสถให้เจริญรุ่งเรืองเหมือนๆ กับวัดวังตะโก และหลวงพ่อท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดท้ายน้ำพอๆ กัน กับวัดวังตะโกขณะที่หลวงพ่อได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดท้ายน้ำ ก็ได้มี
         ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนพากันมาหาหลวงพ่อเงินเป็นประจำเหมือนกับกับที่ท่านอยู่ที่วัดวังตะโก แล้วคณะกรรมการวัดก็ได้ให้ช่างมาทำการหล่อรูปหลวงพ่อเงินขึ้นที่วัดท้ายน้ำเหมือนกับที่วัดวังตะโกทุกๆ พิมพ์ เพื่อแจกจ่ายจำหน่ายเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใสต่อองค์หลวงพ่อเมื่อหลวงพ่อเงินได้กลับไปจำพรรษาอยู่วัดวังตะโด ท่านได้แต่งตั้งและมอบหมายให้พระครูวัตฏะสัมบัญ (ฟุ้ง) ซึ่งเป็นลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดกับหลวงพ่อองค์หนึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำและต่อมาท่านได้เป็นเจ้าคณะอำเภอโพทะเล ที่อำเภอบางคลานได้ยกเลิกมาตั้งที่ใหม่

พระครูวัฏะสัมบัญสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงิน

          กาลต่อมาพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินทุกๆ พิมพ์ ที่จัดสร้างขึ้นที่วัดท้ายน้ำได้หมดไป แต่ยังมีผู้ที่ต้องการอีกเป็นจำนวนมาก ท่านพระครูวัฏะสัมบัญจึงได้ให้ช่างมาทำการหล่อขึ้นอีกทุกๆ พิมพ์คือ พิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม พิมพ์จอบใหญ่ไข่ปลา และพิมพ์จอบเล็ก แล้วท่านก็ได้นำไปให้หลวงพ่อเงินแผ่เมตตาปลุกเสกให้แล้วนำมาแจกจ่ายที่วัดท้ายน้ำ

พระอาจารย์ชุ่มสร้างหลวงพ่อเงินที่วัดท้ายน้ำ

          ต่อมาพระอาจารย์ชุ่ม หรือพระปลัดชุ่มที่เป็นลูกศิษย์อุปสมบทกับพรครูวัฏะสัมบัญได้จัดสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงินขึ้นมารุ่นหนึ่ง เป็นรูปหล่อลอยองค์แบบพิมพ์นิยม โดยนำพระพิมพ์นิยมของพระครูวัฏะสัมบัญมาถอดพิมพ์ ขณะนี้กำลังได้รับความนิยมและเสาะแสวงหากันมากพอสมควร

 ข้อระวัง

         พระหลวงพ่อเงินของพระอาจารย์ชุ่ม เวลานี้บรรดาพวกเซียนพระสมองใสทั้งหลายได้ลบตัว ช. ออก แล้วก็ยืนยันว่าเป็นพระหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมของวัดวังตะโกและวัดท้ายน้ำ ผู้ที่ดูพิมพ์ไม่ออกหลงเชื่อ  ผู้เขียนได้พบเห็นมาหลายรายแล้วก็อดสงสารไม่ได้เพราะฉะนั้น เรื่องหลวงพ่อเงินที่มีผู้เข้าใจกันว่าวัดบางคลานนั้นความจริงแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วัดบางคลานไม่มี คำว่าบางคลานหมายถึงตำบลอำเภอที่อยู่ของวัด ปัจจุบันนี้มีวัดวังตะโกได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดหิรัญญาราม และอำเภอบางคลานก็ได้เปลี่ยนมาเป็นอำเภอโพทะเลแล้ว
          สำหรับหลวงพ่อเงิน วัดวังตะโกกับหลายพ่อเงิน วัดท้ายน้ำบางพิมพ์ก็เหมือนกัน แต่บางพิมพ์อาจจะไม่เหมือนกัน เพราะมิได้สร้างในคราวเดียวกัน และไม่ใช้พิมพ์บล็อกเดียวกันด้วยเล็ก-ใหญ่ไม่เท่ากัน
          ผู้เขียนขอให้ข้อคิดและแนะนำ แก่ผู้เสาะแสวงหาหลวงพ่อเงินวัดวังตะโก หลวงพ่อเงินวัดท้ายน้ำ ตลอดจนกระทั่งหลวงพ่อเงินที่พระครูวัตฏะสัมบัญจัดสร้างขึ้นที่วัดท้ายน้ำจะเป็นพิมพ์ใดก็ตาม มีอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์เหมือนกันทุกประการข้อสำคัญขอให้เป็นของแท้ เพราะหลวงพ่อเงินท่านเป็นพระเถระที่บริบูรณ์ไปด้วยศีลจารวัตรและมีสมาธิจิตอันมั่นคง โดยเฉพาะเวทมนต์คาถาและวิปัสสนาธุระ ท่านมีความเชี่ยวชาญและแก่กล้าเรื่องวิทยาคมรูปหนึ่งของจังหวัดพิจิตร และท่านได้เป็นพระอาจารย์ของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ด้วย กิตติศัพท์ของท่านเลื่องลือขจรขจายไปทั่วทุกภาคจากเหนือจดใต้จากตะวันออกจดตะวันตกมาเนิ่นนานแล้วตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ถึงแม้หลวงพ่อเงินจะมรณภาพจากไปนานแล้วก็ตาม แต่ก็ยังอยู่ในความทรงจำ ศรัทธา ปรารถนาที่จะได้ของหลวงพ่อทุกๆ คนเสมอมาเพราะวัตถุมงคลของหลวงพ่อทุกๆ อย่าง ถ้าผู้ใดมีไว้ครอบครอง จะได้รับแต่ความเจริญรุ่งเรือง เป็นศิริมงคล และแคล้วคลาดจากภัยพิบัติทั้งหลายทั้งปวงแม้แต่ชื่อของท่านก็เป็นมงคลนามอยู่แล้ว โดยเฉพาะชาวพิจิตรและจังหวัดใกล้เคียง ทุกๆ คนจะเคารพบูชาและหวงแหนวัตถุมงคลของหลวงพ่อเงินกันมาก เมื่อมีผู้ใดมาขอเช่าในราคาแพง ผู้ที่เป็นเจ้าของจะไม่ยอมให้เพราะเป็นของที่หาได้ยากยิ่ง เปรียบเสมือนหนึ่งแก้วสารพัดนึกก็ว่าได้

พระอาจารย์และวัดที่จัดสร้างพระหลวงพ่อเงินพิมพ์ต่างๆ มีด้วยกัน 7 วัดคือ

          1. วัดวังตะโก หลวงพ่อเงินสร้าง มีทุกๆ พิมพ์ พระอาจารย์แจ๊ะสร้างพิมพ์พระผงแบบจอบเล็ก
          2. วัดท้ายน้ำ หลวงพ่อเงินสร้างมีทุกๆ พิมพ์ พระครูวัตฏะสัมบัญ (ฟุ้ง) สร้างมีครบทุกพิมพ์ พระปลัดชุ่มสร้างเฉพาะพิมพ์นิยมกับมีตัว ช. เพียงพิมพ์เดียวเท่านั้น
          3. วัดหลวง หลวงพ่อเงินหอมสร้างมีพระพิมพ์ต่างๆ ประเภทเนื้อดินล้วน มีพิมพ์สมเด็จพระเจ้าห้าพระองค์พิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์สังกัจจายน์
          4. วัดขวาง หลวงปู่ไข่ มีพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม และพิมพ์สังกัจจายน์
          5. วัดห้วยเขน พระครูล้อมสร้างพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม ไข่ปลา จอบเล็ก และเนื้อดินมีทั้งนั่ง,นอน,ยืน
          6. วัดบางมูลมาก พระครูพิทักษ์ศัลคุณ (น้อย) กับหลวงพ่อพิธ สร้างพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม จอบใหญ่ ไข่ปลา จอบเล็ก
          7. วัดคงคาราม หลวงพ่อน้อย (ตาบอด)สร้างพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม โดยจ้างเจ๊กชัยหล่อ แล้วมีพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยมเนื้อดินด้วย
          หลวงพ่อเงิน ท่านได้มรณภาพ ด้วยโรคชรา และโรคริดสีดวงทวาร เมื่อวันศุกร์เดือน 10 แรม 11 ค่ำ ปีมะแมเวลา 5.00 น.ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2462รวมอายุได้ 111 ปีพรรษา 90 การมรณภาพของหลวงพ่อเงินครั้งนั้น นับว่าวัดวังตะโก-วัดท้ายน้ำ-ชาวพิจิตรและศิษยานุศิษย์ตลอดจนสาธุชนคนทั่วไปที่เลื่อมใสศรัทธาในตัวท่าน ได้รับความโศกเศร้าเสียใจอย่างสุดซึ้ง นับเป็นการสูญเสียพระคณาจารย์ที่ยิ่งใหญ่และพระเถระที่เป็นกำลังสำคัญของพระศาสนาอันมีความหมายยิ่งรูปหนึ่ง

รูป ชีรติ มจจานํ นามโคลตํ ชีรติ


Credit :  ผู้เขียนจาก http://www.itti-patihan.com
  

ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเงิน 

ปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ปรากฏความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาอีกสองอย่าง คือต้นละมุด และต้นโพธิ์ สำหรับต้นละมุดตามประวัติเล่าว่าพวกชาวเรือนำมาให้ท่านปลูก ท่านเลยปลูกไว้ที่หน้ากุฏิของท่าน พอมีใครมา 
รดพระพุทธน้ำมนต์ท่านก็สาดไปที่ต้นละมุด พระที่เทกระโถนน้ำหมากก็ไปเทที่นั่นทุกวันเป็นอาจิณ 
ต้นละมุดก็เจริญงอกงามแผ่กิ่งก้านใหญ่โต  หลังจากท่านได้มรณภาพไปแล้ว ประมาณ ๔๒ ปี ก็ตายพราย มีคนมาลักตัดไปเสียครึ่งต้น ข่าวว่าหลวงพ่อไปเข้าฝันชาวเรือที่จังหวัดประทุมธานีว่าให้เอาไปใช้ คนที่เอาไปใช้ก็เกิดศักดิ์สิทธิ์ ในทางคงกระพันชาตรี พอดังเข้าจึงได้มีคนมานำเอาไป ทางวัดทราบเช่นนั้นจึงได้ตัดขึ้นมาเก็บไว้ ซึ่งปัจจุบันนี้ก็เหลือไม่มากนัก สำหรับต้นโพธิ์นั้นได้กล่าวไว้ว่าเป็นโพธิ์เสี่ยงทายของ หลวงพ่อเงิน ตอนที่ท่านเริ่มมาสร้างวัดหิรัญญาราม (วัดวังตะโก) เป็นครั้งแรก ต้นโพธิ์ต้นนี้เจริญงอกงามแผ่กิ่งก้านสาขาใหญ่โต มาจนถึงปัจจุบันนี้ เล่ากันว่าหลวงพ่อเงินชอบไปนั่งที่โคนต้นโพธิ์เป็นประจำ
ถ้าพระในวัดทำผิด ท่านมักจะทำโทษ  โดยให้ขนดินไปถมต้นโพธิ์ จนเป็นแหลมยื่นไปในแม่น้ำ 
พอถึงฤดูน้ำจะแลเตี้ยมาก เล่ากันว่าครั้งหนึ่งมีคนพายเรือผ่านมาเห็นนกเปล้าเกาะอยู่บนต้นโพธิ์ ก็ยกปืนลูกซองยาวขึ้นยิง ยิงหลายนัดแต่ไม่เคยถูกนกเลย  ตอนขากลับพายเรือผ่านมาที่หน้าต้นโพธิ์อีกปรากฏว่าเรือล่มจมน้ำเกือบตาย หลังจากนั้นก็ไม่มีใครกล้าแตะ ต้องต้นโพธิ์อีกเลย มาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๓ คณะกรรมการวัดเห็นว่ากิ่งโพธิ์ที่ยื่นไปบังหน้าอุโบสถที่สร้างใหม่ ควรจะตัดออกเสีย จ้างใครขึ้นไปฟันก็ไม่มีใครกล้า หลวงพ่อพระครูพิบูลธรรมเวท  เห็นเช่นนั้น จึงจุดธูปเทียนบูชาบอกเล่าต่อรูปหลวงพ่อเงิน พอตกกลางคืนลมก็ไม่มี กิ่งโพธิ์ที่บังหน้าอุโบสถก็หักลงเหมือนมีคนเอามีดไปตัด มีกิ่งหนึ่งที่อยู่เหนือบ้านคนงานซึ่งอาศัยอยู่ใต้ต้นโพธิ์ก็ไม่หัก เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก 
หลวงพ่อพระครูพิบูลธรรมเวท จึงให้ นางป้อม  จาดฤทธิ์  ทำการตัด และเผาเป็นถ่านเพื่อให้วัดต่อไป 
เมื่อเผาแล้วคุ้ยมาก็ไม่ไหม้ ซ้ำไฟที่ก่อยังไหม้คนเผาเสียแย่ไปเลย ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีใครกล้าไปทำอะไรที่ ต้นโพธิ์นั้นอีกเลย  ชาวบ้านรู้เข้าจึงได้ตัดทอนกิ่งโพธิ์แกะเป็นรูปหลวงพ่อเงินไว้สักการบูชา ปัจจุบัน ก็เหลืออยู่ที่วัดแต่น้อยเต็มที 
            เท่าที่กล่าวมานี้เป็นเพียงบางส่วน ที่เป็นความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเงิน แห่งวัดหิรัญญาราม (วัดวังตะโก) ตำบลบางคลาน อำเภอโพทะเล  จังหวัดพิจิตร  ผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่เปรียบเหมือนกับธงชัย ที่ชาวอำเภอโพทะเล และใกล้เคียงยึดถือเป็นที่พึ่งทางใจของทุกคน จากที่ได้เล่ามานี้ มิใช่ว่าพูดขึ้นลอยๆ ซึ่งปราศจากหลักฐานที่ปรากฏชัดแจ้ง ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่บุคคลผู้สูงอายุประสบมาแล้วทั้งนั้น ถ้าท่านไป ที่ตำบลบางคลานหรือใกล้เคียง ชาวบ้านแถบนั้นจะเล่าให้ท่านฟัง อย่างไม่มีที่จบสิ้น และบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ล้วนแต่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งใกล้ชิดกับหลวงพ่อเงิน เคยอุปสมบทเป็นสัทธิวิหาริก และที่เคยปฏิบัติท่านอยู่ คือ. 

            ๑.        นายแปลก           จุลพันธ์            อายุ      ๘๖      ปี 
            ๒.        นายอ้น               เพ็ญเกตุ           อายุ       ๘๐      ปี 
            ๓.        นายตุ๊                โตสุวรรณ          อายุ       ๗๗      ปี 
            ๔.        นายอิน               หะทะยัง           อายุ       ๗๗     ปี 
            ๕.        กำนันโชติ            นสกุล             อายุ       ๗๔     ปี 
            ๖.        นายเลี่ยม             อิ่มณรัญ          อายุ      ๗๖      ปี      
               

 ความศักดิ์สิทธิ์ ของ ' หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ ' วัดหิรัญญาราม (วังตะโก) 
จากคำบอกเล่าของ  กำนันโชติ   สนสกุล 

            หลวงพ่อเงิน  เป็นผู้ที่มีอภินิหารศักดิ์สิทธิ์  และพิศดารมาก ในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ 
หลายประการ  และแม้ว่าท่านจะจากเราไปนานแล้ว ความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ก็ยังมิได้เสื่อมคลายสูญหาย จากเราไป  
            ๑.ถ่ายรูปหลวงเงินไม่ติด       ในระหว่างที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ผู้คนบ้านใกล้เมืองไกล มักไปมา หาสู่ท่านมิได้ขาดระยะ ครั้งหนึ่งมีคนต่างชาติ (คนแขก) มาขอถ่ายรูปของท่านปรากฏว่ากระจกเลน หน้ากล้องแตก ครั้งที่สองถ่ายอีก ถ่ายตรงๆหน้าท่านพอเอาไปล้างรูปดูแล้ว ปรากฏว่า ไม่ติดหมดทั้งหน้า ติดเพียงแถบเดียว หน้าอัศจรรย์ยิ่งนัก 
            ๒.   การหล่อรูปจำลองหลวงพ่อเงิน  เมื่อหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ประชาชนเห็นความศักดิ์สิทธิ์ ของหลวงพ่อ จึงได้ตกลงกันว่าจะจัดหล่อรูปจำลองของท่านไว้ ในการเททองหล่อรูปปรากฏว่า เททองไม่ติด ทำอย่างไรก็เทไม่ติด จึงต้องนิมนต์ท่านมาในที่ ที่ทำพิธีเททองนั้น ของร้องท่านให้เทติด หลวงพ่อเงินบอกว่า เอาพอแต่แม้นๆ อย่าให้เหมือนเลย แล้วช่างก็ทำการเททองใหม่ จนเป็นรูปหล่อสำเร็จ ดังที่ปรากฏประดิษฐานอยู่ที่วัดหิรัญญารามในปัจจุบันนี้ รูปหล่อจำลองของท่านนี้ ได้เคยประดิษฐานไว้ในอุโบสถ ของ วัดหิรัญญาราม และนำไปประดิษฐานบนกุฏิหลังใหญ่ชั่วระยะหนึ่ง เพราะเกรงว่าจะโดนพวกมิชฉาชีพโจรกรรม  ภายหลังหลวงพ่อพระครูพิบูลธรรมเวท ได้ก่อสร้างวิหาร เสร็จแล้วจึงได้อัญเชิญรูปหล่อจำลอง ของหลวงพ่อเงิน ขึ้นไปประดิษฐานบนวิหาร เพื่อให้ประชาชนได้ปิดทองสักการะบูชาจนถึงปัจจุบันนี้ 
            ๓.  การทำปลอกช้าง   เมื่อหลวงพ่อเงินยังมีชีวิตอยู่ ท่านมีช้างหลายเชือก เพื่อสะดวก 
แก่ผู้เลี้ยงช้าง จึงได้จัดทำปลอกช้างขึ้นใช้ ในระหว่างที่กำลังสูบเตาสูบเพื่อหลอมเหล็กนั้น เหล็กไม่หลอมละลายเพราะหลวงพ่อนั่งดูอยู่ ท่านแกล้งพูดว่าสูบไม่ดีเหล็กจึงไม่ละลาย จนกระทั่งลูกศิษย์ของท่าน ต้องการจะให้หลวงพ่อไปฉันภัตตาหารบนกุฏิเสีย จะได้ทำให้สำเร็จ  และเมื่อหลวงพ่อจะลุกขึ้นไปฉันภัตตาหารบนกุฏิ ท่านแกล้งเอาจีวรทิ้งใส่ลงในเตาสูบนั้น พวกลูกศิษย์พากันตลึง ท่านก็แกล้งสูบเตาใหญ่ เพื่อให้จีวรไหม้ไฟ สูบอยู่นานจนควันขึ้นเป็นสีเขียวสีแดง ท่านเอาคีมคีบขึ้นมาจับดู ปรากฏว่าจีวรของท่าน ไม่ไหม้ไฟแต่ประการใดเลย  พวกลูกศิษย์ที่มาช่วยกันทำปลอกช้างเห็นอย่างนั้น จึงพากันแย่งฉีกชายจีวร ของหลวงพ่อผูกคอผูกหัวกันคนละชิ้นสองชิ้น เมื่อท่านฉันภัตตาหารอิ่มแล้ว จึงลงมาดูที่ที่ทำปลอกช้างนั้น แล้วพูดว่า ใครเอาจีวรฉันไปไหน พวกลูกศิษย์จึงชี้ไปที่หัวที่คอ ซึ่งจีจรถูกฉีกเอาไปทำเครื่องรางของขลัง หมดแล้ว หลวงพ่อก็ยิ้มไม่ว่ากระไร  นี่คืออภินิหารของหลวงพ่อเงิน ซึ่งศักดิ์สิทธิ์เหลือเกิน จีวรของท่านนั้น ยังเผาไฟไม่ไหม้เลย 
            ๔. น้ำพระพุทธมนต์ของหลวงพ่อเงินแข็งได้    ในขณะที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ประชาชน 
เลื่อมใสศรัทธาหลวงพ่อมาก ไปมาหาสู่ก็ให้หลวงพ่อรดน้ำพระพุทธมนต์ให้ เพื่อความเป็นศิริมงคล 
ครั้งหนึ่งมีชาวจีนซึ่งเป็นพ่อค้ามาจากจังหวัดสุโขทัย มาขอน้ำพระพุทธมนต์ท่านอาบ ท่านก็ให้เอาน้ำใส่บาตร ไปตั้งไว้ พร้องทั้งจุดเทียนไว้ด้วย แล้วท่านก็นั่งคุยกับแขกอีกหลายคน จีนผู้นั้นเห็นว่าเอาบาตรไปตั้งทำน้ำ พระพุทธมนต์นานแล้ว ไม่เห็นหลวงพ่อไปทำน้ำพระพุทธมนต์เลย จึงไปถามหลวงพ่อท่านตอบว่าเสร็จแล้ว ชาวจีนผู้นั้นเคืองโกรธหลวงพ่อมาก เพราะนั่งรออยู่เป็นนานไม่เคยเห็นท่านลุกไปทำน้ำพระพุทธมนต์ให้เลย แต่กลับมาบอกว่าทำให้เสร็จแล้ว ด้วยความโกรธจึงยกเอาบาตรน้ำนั้นไปเททิ้งที่แพน้ำ ปรากฏว่าน้ำพระพุทธมนต์นั้นแข็งเทเท่าไรก็ไม่ออก จึงอุ้มบาตรขึ้นมาหาหลวงพ่อ บอกหลวงพ่อว่าน้ำมนต์แข็งเทไม่ออก หลวงพ่อจึงบอกให้ลองเทดูอีกครั้ง ชาวจีนผู้นั้นจึงเทน้ำพระพุทธมนต์ต่อหน้าหลวงพ่อ ปรากฏว่าน้ำ พระพุทธมนต์นั้นไหลออกจากบาตรจนหมด ท่านก็หัวเราะชอบใจ จีนผู้นั้นจึงไม่ได้รดน้ำพระพุทธมนต์ ของหลวงพ่อเลย 
            ๕. วัดหลวงพ่อเงินเสมือนสวนสัตว์   ครั้งหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงมีมากมาย เช่น ช้าง กระบือ ละมั่ง  กวาง นกยูง หมี ลิง ชะนี  นกต่างๆ เป็นต้น แม้แต่เวลานี้สภาพทางภูมิ ศาสตร์รอยจารึกอยู่ และมีชื่อว่าคลองบางกระหญ้า คือเป็นที่ทอดหญ้ากระบือของหลวงพ่อ อยู่ห่างจากวัด ไปทางทิศเหนือเล็กน้อย ยังมีชื่อปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ 
            ๖.  เชื้อพระวงศ์มาเยี่ยมวัดหลวงพ่อเงิน   เมื่อหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ นอกจากจะมาฝากตัวเป็นศิษย์ร่ำเรียนเวทวิทยาคมแล้ว ยังได้มาขอให้หลวงเงิน อาบน้ำพระพุทธมนต์ให้อีกด้วย และยังมีสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ (กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช) มาขอเรียนศิลปศาสตร์เวทวิทยาคมกับหลวงพ่อด้วย
           ๗.  แอบดู 'หลวงพ่อเงินทำวัตรในกุฎิ'     ในสมัยที่หลวงพ่อเงิน ไปจำพรรษาที่วัดท้ายน้ำ ผู้ใหญ่เลียบ 'ครั้งเป็นศิษย์วัด' ชอบซุกซน ตามประสาเด็ก ครั้งหนึ่งในตอนกลางคืนเห็นว่าหลวงพ่อปิดประตูหน้าต่างกุฏิ แล้วเริ่มทำวัตรเย็นและเจริญ พระพุทธมนต์ เด็กชายเลียบ กับเพื่อนอีกสองคน ก็ไปที่กุฎิหลวงพ่อ เพื่อแอบดูหลวงพ่อทำวัตร เมื่อมอง ลอดช่องฝาไม้กุฎิเข้าไป ก็มองไม่เห็นหลวงพ่อเงินเลย เห็นแต่ธูปเทียนที่ท่านจุดบูชาพระพุทธรูป และได้ยินแต่เสียงของท่านที่กำลังเจริญพระพุทธมนต์เท่านั้น เด็กชายเลียบและเพื่อนถึงกับตลึงขนลุกชูชัน ซึ่งเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก 
            ๘.  หลวงพ่อเงินใช้ศิษย์ไปแย่งปลาจากปากจระเข้     ในสมัยที่หลวงพ่อเงิน ไปช่วยหลวงพ่อเขียว สร้างอุโบสถที่วัดท้ายน้ำ ช่วงฤดูแล้ง ท่านพักอยู่แพท่าน้ำใต้ต้นโพธิ์หน้าวัด  ครั้งนั้นมีจระเข้ตัวหนึ่งกำลังคาบปลาชะโดตัวใหญ่ลอยอยู่ในแม่น้ำ มีชายหนุ่มคนหนึ่งไม่ปราฏกชื่อเป็นชาวอำเภอสามง่ามจะมาขอเรียนวิชา กับหลวงพ่อเงิน ท่านจะทดสอบวาระจิตของชายหนุ่มผู้นี้หรืออย่างไรไม่ทราบได้ ท่านจึงใช้ให้ไปแย่งเอาปลามาจากปากของจระเข้ ด้วยความเชื่อมั่นและศรัทธาในองค์หลวงพ่อเงิน เขาจึงกระโดดลงในแม่น้ำว่ายไปยังจระเข้ที่กำลังคาบปลาผลุบๆโผล่ๆอยู่ในแม่น้ำ เมื่อว่ายเข้าไปใกล้จระเข้ก็ดำน้ำไป เขาก็หันไปตะโกนบอกกับหลวงพ่อว่า จระเข้ดำน้ำไปแล้วครับ หลวงพ่อก็บอกว่า  เองก็ดำตามไปซิวะ  เข้าก็ดำน้ำตามจระเข้ และสามารถ แย่งเอาปลาชะโดที่ตายแล้วมาจากปากจระเข้ได้ ว่ายน้ำนำเอาปลามาถวายหลวงพ่อเงิน ที่แพท่าน้ำ หลวงพ่อหัวเราะชอบใจใหญ่ แล้วพูดว่า ' เออเองใช้ได้ ' แล้วท่านก็รับชายหนุ่มผู้นั้นไว้เพื่อสอนวิชาอาคม
              ๙.  หลวงพ่อวาจาสิทธิ์    ครั้งหนึ่งหลวงพ่อเงินขี่ช้างไปที่ป่าโนนรัง ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่หมู่ ๗ ต.ท้ายน้ำ อ.โพทะเล จ.พิจิตร เพื่อไปแสวงหาไม้ที่จะทำไม้ตะพดตามนิมิตของท่าน เมื่อได้ไม้สมประสงแล้ว ก็ขี่ช้างเดินทาง ข้ามทุ่งทับแจง มาพักช้างฉันภัตตาหารเพลที่ทุ่งกว้าว (ทุ่งสะเดาหวาน) ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ ๔ ต.ท้ายน้ำ อ.โพทะเล จ.พิจิตร ท่านได้ให้ลูกศิษย์ที่ติดตาม ไปเด็ดเอาช่อสะเดาที่กำลังออกช่อน่ากินมากำมือหนึ่ง เพื่อเอาฉันกับน้ำพริก เมื่อฉันอยู่ท่านก็พูดว่า ' เออ สะเดาต้นนี้ช่อหวานมันดีนะ ' นับตั้งแต่นั้น จนถึงปัจจุบันนี้ แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไปเกือบร้อยปีแล้ว สะเดาต้นเดิมจะตายไปแล้วเหลือต้นลูกหลาน ก็ปรากฏว่า ช่อสะเดายังมันเหมือนเดิมไม่มีขมเลย ปัจจุบันนี้ยังได้รับการอนุรักษ์อยู่ นับว่าหลวงพ่อเงินมีวาจาสิทธ์เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก

7-9 จากคำบอกเล่าของ ผู้ใหญ่เลียบ  พูลชัยนาท ผญบ. หมู่ ๑ ต.ท้ายน้ำ อ.บางคลาน
(ปัจจุบันเป็น อ.โพทะเล จ.พิจิตร)

 
เงิน

พ่อ



หลวงพ่อเงินขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านไม่เคยโอ้อวดว่าท่านเคร่งหรือมีสมณะศักดิ์เป็นอะไร 
แต่มีบุคคลบางคนเท่านั้นที่ทราบว่าท่านได้รับสมณะศักดิ์ ท่านเรืองวิชาอาคม หรือสำเร็จญาณใด
ท่านไม่คุย แต่ท่านสามารถล่วงรู้ได้ล่วงหน้าถึงวาระจิตของคน และสัตว์ เหตุการณ์ที่เป็นไป แม้แต่ทรัพย์ 
ใต้ดินที่มีอยู่ที่ใด อย่างเช่นเมื่อคราว สมเด็จพระมหาสณะเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  เสด็จไปที่วัด ไม่มีใครรู้จัก แต่ชาวบ้านที่นั่งอยู่ที่วัดอดแปลกใจไม่ได้ว่า  ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา ไม่เคยเห็นหลวงพ่อเงิน 
ออกปูเสื่อและออกไปรับด้วยตัวของท่านเอง นี้แสดงว่าท่านสามารถล่วงรู้ถึงฐานะของบุคคลที่มาหาท่าน  
มีเรื่องขำ ตอนนี้ว่า หลวงพ่อเงิน ท่านสั่งให้พระในวัดทำที่สรงน้ำและที่บังคน พระไม่ทราบถึงคำราชาศัพท์วิ่งกันให้วุ่นไปหมด บางองค์ไปทำโรงพิธีสวดพระชัยมงคลคาถา บางองค์ไปทำโรงต้มน้ำร้อน จนหลวงพ่อเงินบอกว่า  ทำส้วมไงล่ะ  ถึงได้ขำกันใหญ่  



ท่านยังแสดงความศักดิ์สิทธิ์ให้เห็น  ครั้งเมื่อหลวงพ่อพระครูพิบูลธรรมเวท (เปรื่อง  ฐิตปุญฺโญ)
อดีตเจ้าอาวาสวัดหิรัญญาราม เจ้าคณะอำเภอโพทะเล ได้รับการถวายเครื่องเงินเก่าๆ จากชาวบ้าน จึงคิด จะสร้างรูปหลวงพ่อเงินไว้บูชา ก็ให้ช่างมาเทรูปหล่อ ช่างหล่อรูปไม่ได้สักที เบ้าแตกหมดเหลือเพียงเบ้าเดียว 
หลวงพ่อพระครูพิบูลธรรมเวท จึงได้ไปจุดธูปบอกหลวงพ่อเงินโดยอธิษฐานขอเพียง ๓ รูป คือ 
ช่างหล่อ ๑ องค์ ทายก ๑ องค์ คนหล่อ ๑ องค์ ปรากฏว่าได้รูปชัดสวยงามมาก พอดีขณะนั้นมีคนมาที่วัดก็อยากได้ เพราะเงินที่หล่อยังเหลืออยู่  จึงได้อธิษฐานต่อหลวงพ่อเงิน ปรากฏว่าหล่อไม่ได้สักองค์ 
หลายครั้งหลายหน ถึงกับถูกเศษเงินในเบ้าหลอมกระเด็นใส่หน้าตาพองจึงต้องเลิก  นี่เป็นที่เชื่อถือได้แน่นอนว่าท่านศักดิ์สิทธิ์จริง คือให้เท่าที่ขอเท่านั้น  ตรงกับอุปนิสัยของหลวงพ่อเมื่อยังมีชีวิตอยู่จริงๆ 
ถ้าบอกให้เป็นให้ ถ้าไม่ให้ขอให้ใจขาดก็ปราศจากผล 
ตามประวัติของท่าน  พระเครื่องตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ไม่ค่อยมีมากนัก เนื่องจากท่านไม่คิดที่จะสร้างให้มากมาย เพราะท่านได้เคยพูดว่า 'ของคงกระพันชาตรี' เป็นของที่เจ็บตัว แม้จะยิงไม่เข้าฟันไม่เข้า 
ตีไม่แตก  สู้เมตตามหานิยมไม่ได้  เริ่มแรกที่จะมีพระรูปหล่อของท่าน ก็เนื่องจากมีลูกมอญคนหนึ่ง 
ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้วัด อายุประมาณ ๗-๘ ขวบ ท่านชอบมาก เพราะเรียกใช้ได้คล่อง วันหนึ่ง 
ท่านได้ปั้นดิน เป็นรูปพระขนาดเล็ก รูปหน้าจั่วให้เด็กคนนี้ไป แล้วพูดว่าเอาไปลองให้พ่อตีที เด็กคนนั้น 
ก็จริงเหมือนกัน พอถึงบ้านก็ให้พ่อตีทันที แต่พ่อของเด็กนั้นตีมิเคยถูกเลยจนอ่อนใจ ตั้งแต่นั้นมาบ้านใดมีสุนัขดุท่านก็ใช้เด็กคนนี้ไปทุกทีปรากฏว่าถูกสุนัข กลุ้มรุมกัดแต่ไม่เคยระคายผิวของเด็กนั้นเลย  ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้าน ที่รู้ข่าว ก็พากันมาให้ท่านทำให้ มีทองคำบ้าง เงินบ้าง ทองแดงบ้าง  พอดีท่านคิดจะหล่อรูปเหมือนเท่าตัวของท่าน (รูปหล่อจำลองเท่าองค์จริงที่อยู่จนถึงปัจจุนี้) ก็จ้างช่างมาหล่อรูปเหมือนของท่าน ปรากฏว่า หล่อเสร็จแล้ว เงินค่าจ้างช่างไม่พอ  ท่านก็บอกว่าไม่เป็นไร ท่านให้หล่อรูปท่านเป็นพระเครื่องขึ้นมา ๒ แบบ  คือ

หลวงพ่อเงินกลมแบบลอยองค์
๑. ชนิดกลมแบบลอยองค์ 
(ตามภาษาชาวบ้านเรียก)

หลวงพ่อเงินแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว

๒. ชนิดแบนแบบสามเหลี่ยม
หน้าจั่ว 
(อย่างเล็ก) 

เมื่อท่านทำการปลุกเสกแล้ว ก็นำออกมาให้ประชาชนบูชาเพียงองค์ล่ะ ๑ บาทเท่านั้น แต่ก็ไม่มีมากนัก ทั้งสองแบบคงไม่เกินสามพันองค์ พอได้เงินค่าจ้างช่างแล้ว ช่างจึงหล่อรูปนรกอบายภูมิมาถวายท่าน 
ปัจจุบันนี้ยังคงอยู่ที่วัด รูปหล่อของท่านได้สั่งไว้ว่าห้ามลอง แต่มีบุคคลที่อดไม่ได้ นำไปทดลองยิงด้วยปืน ผลก็คือครั้งแรกดังแต่ไม่ถูก  ครั้งที่สองเหนี่ยวไกนกไม่ยอมสับ  ครั้งที่สามดังแต่ปืนแตกถูกคนยิง 
อาการสาหัส  ตั้งแต่นั้นมากิตติศักดิ์ของท่านก็เลื่องลือ ไม่พอจำหน่าย  ทายกวัดจึงได้คิดให้ท่านหล่อรูปขึ้นเพิ่มเติมอย่างใหม่อีกแบบหนึ่งเรียกว่า รูปหน้าจั่วแบบไข่ปลา รุ่นนี้ทำมาก กล่าวกันว่าเป็นปีบที่เดียว 

ชนิดแบนแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่วแบบไข่ปลา (อย่างใหญ่)
๓. ชนิดแบนแบบสามเหลี่ยม
หน้าจั่วแบบไข่ปลา  (อย่างใหญ่)


๔. พระเนื้อดินผสมมวลสาร  ๐๘
 พระเจ้าห้าพระองค์

หลังจากนั้นท่านได้สร้างขึ้นอีกหนึ่งแบบ เป็นพระเนื้อดินเรียกตามอย่างปัจจุบันว่า ' พระเจ้าห้าพระองค์ ' 
ต่อมาหลวงพ่อหอมแห่งวัดหลวง ตำบลท่าบัว อำเภอโพทะเล ได้สร้างพระ สมเด็จพุฒาจารย์  ๓  ชั้น โดยให้หลวงพ่อเงินทำผง และปลุกเสกให้  เหลือจากนั้นท่านได้บรรจุไว้ในเจดีย์หน้าโบสถ์ และสั่งไว้ว่าถ้าจะก่อสร้างอะไรก็ให้นำออกมาให้ประชาชนได้บูชาเพื่อนำปัจจัยไปก่อสร้าง ทางคณะกรรมการวัดได้นำออกมา ในคราวก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่เดี๋ยวนี้คงเหลือที่วัดไม่มากนักนับว่าหลวงพ่อท่านเป็นผู้มองการณ์ไกล

๕.  พระผงสมเด็จพุฒาจารย์ ๓ ชั้น
ที่บรรจุไว้ในเจดีย์หน้าอุโบสถหลังเก่าและได้ทำการขุดเพื่อนำมาให้ประชาชนบูชาในคราวสร้างอุโบสถหลังใหม่  เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕

คัดลอกจาก  http://www.watbangklan.com

บูชาวัตถุมงคลได้ที่ 
http://www.watbangklan.com

วัดหิรัญญารา  ( วังตะโก - บางคลาน )  
ต.บางคลาน  อำเภอโพทะเล  จ.พิจิตร 




หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่   คุณศักดา พูลชัยนาท
หมายเลขโทรศัพท์    ๐๘ ๙๐๘๒ ๙๑๕๕
ศูนย์รับจอง อาจารย์ราม  วัชรประดิษฐ์
(แชมป์แฟนพันธ์แท้พระเครื่องคนแรกของประเทศไทย)  โทร. ๐๘๙๘๗๒๒๗๐๑ 






 

     


 
 
 




ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :